ซอฟต์แวร์ประยุกต์


ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น
การทำงานใด ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส หรือวินโดวส์ เป็นต้น
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ   
1.  ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง
เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้านหรือในสาขาใด สาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียน คือ โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ และต้องศึกษาทำความเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น โปรแกรมช่วยจัดการด้านการเงิน โปรแกรมช่วยจัดการบริการลูกค้า ฯลฯ
                       โครงสร้างของซอฟต์แวร์เฉพาะทางมักจะประกอบด้วย ฐานข้อมูลเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้าและระบบหลักของงาน ภายในซอฟต์แวร์ควรจะมีส่วนทำงานประมวลคำเพื่อใช้สร้างรายงาน ติดต่อโต้ตอบจดหมาย และการนัดหมายตามกำหนดการ ลักษณะของซอฟต์แวร์เฉพาะทางนี้ มีทั้งรูปแบบที่มีผู้ใช้งานคนเดียวหรือผู้ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน
ใน ประเทศไทย มีการใช้ซอฟต์แวร์ประเภทใช้เฉพาะทางอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตต่างประเทศได้ออกแบบมาเพื่อรองรับ งานด้านธุรกิจ ในที่นี้ได้รวบรวมจัดประเภทไว้ดังนี้
1)  ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี
ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน
2)  ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย
ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง และระบบงานประวัติการขาย
3)  ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้า และการกำหนดขั้นตอนการผลิต
4)  ซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์
                      2.  ซอฟต์แวร์สำเร็จ
เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้นและวางขายทั่วไป  ผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่ง ผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำไปประยุกต์กับงานของตน ผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีก ราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่สูงมากเกินไป
ซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไป ซึ่งนิยมเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน คือ
1)   ด้านการประมวลคำ
2)   ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลหรือตารางทำงาน
3)   ด้านการเก็บและเลือกค้นข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล
4)   ด้านกราฟิกและนำเสนอข้อมูล
5)   ด้านการติดต่อสื่อสารทางไกล
6)   ด้านการพิมพ์ตั้งโต๊ะ
7)   ด้านการลงทุนและจัดการการเงิน
8)   ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม

9)   ด้านการจำลอง เกม และการตัดสินใจ
ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
   2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
     2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัว มีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) ความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่งสิ่งพิมพ์
วิธีการเลือกใช้ซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์มีหลายประเภทด้วยกัน ดังนั้นการเลือกใช้ซอฟต์แวร์จึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ เช่น
1.การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้หมาะสมกับงาน
                การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงานต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการนำซอฟต์แวร์ไปใช้งานเพื่อจะได้ซอฟต์แวร์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด และเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำงานของซอฟต์แวร์ เช่น ในการจัดทำบัญชีและแสดงข้อมูลกราฟ ควรใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานโดยเฉพาะ เพื่อให้การทำบัญชีเกิดความสะดวกและรวดเร็ว
2. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากร
                การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับทรัพยากรหรือฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่ ต้องพิจารณาคุณลักษณะขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้สามารถประมวลผลซอฟต์แวร์นั้นได้ โดยคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์จะต้องมีคุณลักษณะไม่ต่ำไปกว่าที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์กำหนดไว้ คุณลักษณะในการพิจารณา เช่น ความเร็วของซีพียู ความจุของแรม ความละเอียดของการ์ดแสดงผล
3. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ
                หากมีงบประมาณไม่เพียงพอ อาจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ราคาต่ำกว่าหรือไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เช่น การใช้ซอฟต์แวร์แบบรหัสเปิดแทนซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพง
4. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
                เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ต้องจัดซื้อให้ถูกต้องตามกฏหมาย ซอฟต์แวร์อาจสามารถหาซื้อได้จากร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ โดยมักจะอยู่ในรูปของแผ่นซีดี หรือแผ่นดีวีดีที่บรรจุโปรแกรม หรืออาจดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ต้องการจากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะได้ซอฟต์แวร์มาด้วยวิธีไหนก็ตาม ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะต้องถูกติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์เสียก่อน จึงจะสามารถเรียกใช้เพื่อให้ประมวลผลตามหน้าที่ของซอฟต์แวร์นั้น ๆ ได้
ซอฟต์แวร์แต่ละประเภทจะมีการปรับปรุงรุ่งของซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ โดยมีการปรับปรุงในหลาย ๆ ด้าน เช่น การเพิ่มฟังก์ชันหรือความสามารถใหม่ การปรับปรุงส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การแก้ปัญหาข้อผิดพลาดที่มีในรุ่นก่อนหน้า ดังนั้นผู้ใช้จึงควรพิจารณาว่าสมควรจะปรับปรุงรุ่งของซอฟต์แวร์หรือไม่ โดยพิจารณาจากความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สุงสุด

กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจ (business) ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้จะเน้นในการใช้งานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าการใช้แรงงานคน เช่น ใช้สำหรับการจัดพิมพ์เอกสาร นำเสนองาน รวมถึงการบันทึกนัดหมายต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทซอฟต์แวร์ในกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก โปรแกรมที่ใช้กันในปัจจุบันอาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามลักษณะการใช้งานได้อีกดังตัวอย่างในตารางต่อไปนี้
              ซอฟต์แวร์สำหรับจัดโครงการ (Project management) ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนโครงการเป็นหลัก
ซึ่งตัวโปรแกรมสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมีการวางแผนงานที่ง่ายขึ้น รวมถึงความสามารถในการจัดการกิจกรรมงาน
ติดตามงาน วิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโครงการได้ง่ายขึ้น





                ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting) หัวใจของการทำงานทางด้านธุรกิจที่ขาดไม่ได้ก็คือ ส่วนงานบัญชีนั่นเอง
โปรแกรมส่วนนี้จะช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานสามารถที่จะบันทึกข้อมูลและแสดงรายงานทางการเงินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing) เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการประมวลผลคำนั่นเอง ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ
ก็คือ สามารถจัดการเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขีดความสามารถโดยการนำเอารูปภาพมาผนวกเข้ากับเอกสารได้ด้วย บางครั้งอาจจะเป็นรูปภาพที่มีอยู่แล้วที่เรียกว่า คลิปอาร์ต
หรือภาพถ่ายอื่น ๆ ก็ได้


แหล่งที่มา  http://purealone.blogspot.com/2013/06/blog-post_3556.html
                   http://pinghaha927.blogspot.com/2014/09/blog-post_59.html