คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์


ความหมายของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
การใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างราบรื่นและไม่ติดขัดนั้นจะต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และพีเพิลแวร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องมือในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลลัพธ์ รวมทั้งอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ เช่น เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ ซีพียู ฯลฯ 
1.1 ไมโครโปรเซสเซอร์
1.2 หน่วยความจำ
1.3 อุปกรณ์เก็บข้อมูล
1.4 อุปกรณ์รับข้อมูล/แสดงผล
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะช่วยในการแก้ปัญหาจากต้นจนจบ ทำงานรายละเอียดทุกขั้นตอน โปรแกรมเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำภายในซีพียู หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม
ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
2.1. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบันนี้ คือ Window 95 , Windows 98 และระบบปฏิบัติการ Linux , Dos และจะมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ
2.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำเร็จรูป ของบริษัทต่าง ๆ ออกมาใช้งาน เช่น Excel , Photoshop และ Oracle เป็นต้น
โปรแกรมประยุกต์มีทั้งโปรแกรมที่เขียนขึ้นเอง และโปรแกรมสำเร็จรูป         หน่วยประมวลผลถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเครื่องคอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับสมองของมนุษย์ หน้าที่หลักของหน่วยนี้คือ นำเอาข้อมูลที่ถูกจัดเก็บหรือพักไว้ในหน่วยความจำ มาทำการคิดคำนวณประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operation) และเปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ (Logical Operation) จนได้ผลลัพธ์ออกมาแล้วจึงค่อยส่งข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์เหล่านั้นไปยังหน่วยแสดงผลต่อไปอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ ซีพียู (Central Processing Unit)

โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip)
          นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ

1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์ดแวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยควบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล

ตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน
 ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับงานในองค์การเกือบทุกประเภท ทั้งนี้เนื่องมาจากคุณสมบัติที่ดีในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารที่มีการพัฒนาอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone) เป็นต้น
1. การนำเสนอข้อมูลขององค์การ (Organization Profile) หน่วยงานต่างๆได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลขององค์การ ช่วยให้การประชาสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย
 2. การนำเสนอและขายสินค้าและบริการ (Sales and Services) การทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความยินยอมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน บริษัทและประเภทต่างๆ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตมาเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการอีกทางหนึ่ง
 3. ตรวจสอบการส่งสินค้า (Delivery) ปัจจุบันหลายบริษัท เช่น FedEx และ UPS ในสหรัฐอเมริกาได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตรวจสอบการส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า ซึ่งลูกค้าสามารถสอบถามสถานภาพของสินค้าว่าอยู่ในกระบวนการใด
 4. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการนำคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์เข้ามาช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การใช้โปรแกรมประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ(Computer Aided Design หรือ CAD) มาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือชิ้นส่วน เป็นต้น
5. งานบัญชี (Accounting) โปรแกรมระบบบัญชีได้รับความนิยมเกือบทุกองค์การบางหน่วยงานอาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านบัญชี ในขณะที่บางหน่วยงานอาจพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้เอง
 6. งานบุคลากร (Human Resources) การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลของบุคลากรในบริษัท ควบคุมและดูแลบุคลากร ช่วยการวางแผนงานด้านบุคลากร รวมถึงการพัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 7. งานฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Database) ใช้ในการจัดเก็บประวัติและข้อมูลทั่วไปของลูกค้า เช่น ข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลลูกค้าที่มาสั่งซื้อสินค้า เพื่อใช้ในการจัดทำสถิติและการวางกลยุทธทางการตลาด

 8. การเรียนการสอน (Teaching and Learning) โลกของเทคโนโลยีสารสนเทศได้เจริญรุดหน้าไปยังทุกหน่วยงาน ไม่ได้จำกัดเฉพาะวงการธุรกิจเท่านั้น แม้กระทั่งหน่วยงานทางการศึกษาก็ได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกัน ลักษณะงานที่เด่นชัด เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน การจัดเก็บข้อมูลนักศึกษาและผลการเรียน เป็นต้น


แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/loryeng2/tawxyang-karna-khxmphiwtexr-ma-prayukt-chi-ngan